วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555


ลินุกซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Linux
Tux นกเพนกวิน สัญลักษณ์ของลินุกซ์
Tux นกเพนกวิน สัญลักษณ์ของลินุกซ์
ตระกูลแบบยูนิกซ์
สถานะยังพัฒนาอยู่
รุ่นเสถียร9 มกราคม พ.ศ. 2551
ชนิดเคอร์เนลMonolithic kernel
ลิขสิทธิ์เคอร์เนล: GPL
ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน
เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่องอินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ
ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ประวัติ

ริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู, และ ลินุส โตร์วัลดส์ (ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนลริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู, และ ลินุส โตร์วัลดส์ (ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนล
ริชาร์ด สตอลแมน (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง โครงการกนู, และ ลินุส โตร์วัลดส์(ขวา) ผู้ให้กำเนิด ลินุกซ์ เคอร์เนล
ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์ เคอร์เนลเป็นคนแรก คือ ลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยแรกเริ่ม ริชาร์ด สตอลแมน (Richard Stallman) ได้ก่อตั้งโครงการกนูขึ้นในปี พ.ศ. 2526 จุดมุ่งหมายโครงการกนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้ายยูนิกซ์ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งระบบ ราวช่วงพ.ศ. 2533 โครงการกนูมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ คลังโปรแกรม (Libraries) คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมแก้ไขข้อความ(Text Editor) และเปลือกระบบยูนิกซ์(Shell) ซึ่งขาดแต่เพียงเคอร์เนล(Kernel) เท่านั้น ในพ.ศ. 2533 โครงการกนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ Hurd เพื่อใช้ในระบบกนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล
ในพ.ศ. 2534 โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Minix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ IA-32 assembler และภาษาซี คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาโครงการ Eric S. Raymond ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง The Cathedral and the Bazaar
ในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ POSIX ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กนู Bash Shell และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว
โตร์วัลดส์ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Window System และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์

[แก้]การอ่านออกเสียง

หน้าจอคอมพิวเตอร์ของลินุกซ์ อูบุนตุ
ในขณะที่ในไทยใช้คำว่า "ลินุกซ์" ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักนิยมออกเสียงเป็น "ลินิกซ์" หรือ "ไลนิกซ์" โดยพยางค์ท้ายอ่านเหมือนพยางค์ท้ายของคำว่า"ยูนิกซ์" โดยลินุส โตร์วัลดส์ผู้ที่คิดค้นลินุกซ์ได้กล่าวไว้ว่า "li" อ่านเหมือนเสียงสระอิ /ɪ/ และ "nux" อ่านเสียงสระเหมือนเสียง /ʊ/ ซึ่งคล้ายเสียง "อุ" ในภาษาไทย ในอินเทอร์เน็ตมีไฟล์ที่เก็บคำพูดของโตร์วัลดส์ ที่พูดว่า "Hello, this is Linus Torvalds, and I pronounce Linux as Linux"[1] เก็บไว้เนื่องจากมีการโต้เถียงกันมากในเรื่องการออกเสียง
เพราะทุกคนเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงอะไร

[แก้]การใช้งาน

การใช้งานดั้งเดิมของลินุกซ์ คือ ใช้เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แต่จากราคาที่ต่ำ ความยืดหยุ่น พื้นฐานจากยูนิกซ์ ทำให้ลินุกซ์เหมาะกับงานหลาย ๆ ประเภท
ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดีย
เนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวีดิโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมัน
ระยะหลังมีการใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มากขึ้น ในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ TOP500 ของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดสองอันดับแรกใช้ลินุกซ์ และจาก 500 ระบบ มีถึง 371 ระบบ (คิดเป็น 74.2%) ให้ลินุกซ์แบบใดแบบหนึ่ง
เครื่องเล่นเกม โซนี่ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกในปี พ.ศ. 2549 รันลินุกซ์ โซนียังได้ปล่อย PS2 Linux สำหรับใช้กับเพลย์สเตชัน 2 อีกด้วย ผู้พัฒนาเกมอย่าง Atari และ id Software ก็เคยออกซอฟต์แวร์เกมบนลินุกซ์มาแล้ว

[แก้]ส่วนแบ่งการตลาด

ส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันของลินุกซ์มีเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องจากรายงานการวิจัยจาก Company IDC ในปี พ.ศ. 2545 โดย 25% ของเซิร์ฟเวอร์ และ 2.8% ของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทำงานระบบลินุกซ์ เนื่องจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของลินุกซ์ ฟรี และระบบความปลอดภัยสูง ทำให้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เติบโตสูงที่สุดในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

[แก้]การติดตั้ง

รายการลินุกซ์ดิสทริบิวชัน (ดิสโทร) ทั้งหมด
การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่นสามารถเบิร์นได้จาก ISO image ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากสัญญาอนุญาตของโปรแกรมเป็นแบบ GPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่อง
การทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องทั่วไป

[แก้]การเขียนโปรแกรมบนลินุกซ์

ส่วน GNU Compiler Collection (GCC) สนับสนุนการเขียนภาษาโปรแกรมที่สำคัญ เช่น ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส และภาษาจาวา รวมถึงภาษาอื่น ๆ รวมถึงมี IDE จำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Emacs Vim Eclipse KDevelop Anjuta

[แก้]


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ DOS หรือ MS-DOS
ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมควบคุมระบบ ( Operating System หรือ OS ) คือ ส่วนทีสำคัญของซอฟแวร์ระบบ ซึ่งจะจัดการดำเนินการพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่ต้องมีใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง โปรแกรมควบคุมระบบที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกัน เช่น MS-DOS ( Microsoft Disk Operating System ) Windows 95/98/NT, PC-DOS ฯลฯ มีหน้าที่ดังนี้ คือ
  1. เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่ายอุปกรณ์รับข้อมูล และแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิม์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
  2. จัดการติดต่อและควบคุมอุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ เครื่องพิมพ์
  3. จัดการแบ่งหน่วยความจำสำหรับระบบและผู้ใช้งาน พร้อมทั้งจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
การเริ่มต้นทำงานของระบบปฏิบัติการดอส
ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นต้องทำการนำโปรแกรมจัดระบบงาน DOS เข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน เราเรียกวิธีการนี้ว่า Boot DOS มี 2 วิธีคือ
    1. Cold Boot คือการเปิดเครื่องด้วยสวิตช์ปิดเปิดเครื่อง (power)
  2    Worm Boot คือ จะใช้วิธีนี้ในขณะที่เครื่องเปิดอยู่ ในกรณีที่เครื่องค้าง (Hank) เครื่องไม่ทำงานตามที่เราป้อนคำสั่งเข้าไป การบูทเครื่องแบบนี้สามารถกระทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. กดปุ่ม Reset
2. กดปุ่ม Ctrl+Alt+Del พร้อมกัน แล้วปล่อยมือ
การ Boot จากแผ่นดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
    • นำแผ่น DOS ใส่ Drive A แล้วเปิดสวิตซ์เครื่อง รอสักครู่จะปรากฏไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กช่อง A แสดงว่ากำลังอ่าน และถ่ายทอดข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่อง และเมื่อไฟแดงที่ช่องขับจานแม่เหล็กดับ จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอตามรูปแบบ ดังนี้
CURRENT DATE IS JAN 01-01-01
ENTER NEW DATE (MM-DD-YY)
หมายความว่า วันที่ในเครื่อง คือ วันจันทร์ที่ 1 เดือนมกราคม 2544 ถ้าถูกต้องตรงตามวันที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ วันที่ปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
MM หมายถึง เลขที่ของเดือน ( 1-12 )
DD หมายถึง วันที่ปัจจุบัน ( 1-31 )
YY หมายถึง ปี ค.ศ.
เมื่อเติมวันที่ หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป จะมีข้อความปรากฏที่หน้าจอ ดังนี้
                                    CURRENT TIME IS 08:30:15.15
                  ENTER NEW TIME: ( HH-MM-SS )
หมายความว่า นี้เวลาในเครื่อง คือ 8 นาฬิกา 30 นาที 15 วินาที ถ้าถูกต้องตรงตามเวลาที่ใช้งาน ให้กดปุ่ม Enter ได้เลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ให้ใส่ เวลาปัจจุบันลงไปตามที่กำหนด คือ
HH หมายถึง เวลาเป็นชั่วโมง
MM หมายถึง เวลาเป็นนาที
SS หมายถึง เวลาเป็นวินาที (แต่ไม่จำเป็นต้องเติมเพราะเครื่องจะคำนวณให้อัตโนมัติ)
เมื่อเติมเวลา หรือ กดปุ่ม Enter ผ่านไป เครื่องก็จะขึ้นเครื่องหมาย A:> ที่หน้าจอ สัญลักษณ์นี้เรียกว่า A Prompt
A หมายถึง ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังติดต่อกับช่องขับจานแม่เหล็ก A อยู่ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีฮาร์ดดิสก์และมีโปรแกรม DOS บรรจุอยู่ จะเห็นเป็นสัญลักษณ์เป็น C:> คือช่องขับจานแม่เหล็กช่อง C นั่นเอง
Prompt หมายถึง สัญลักษณ์ที่แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะปฏิบัติงานแล้ว เครื่องหมาย Prompt นี้ สามารถเปลี่ยนรูปแบบตามต้องการได้ คือ Prompt แล้วตามด้วยสัญญลักษณ์ต่อไปนี้
$ คือ ตัวอักษร g คือ เครื่องหมาย >
t คือ เวลา l คือ เครื่องหมาย <
d คือ วัน b คือ เครื่องหมาย :
p คือ ระบบปฏิบัติการ q คือ เครื่องหมาย =
v คือ หมายเลขรุ่น e คือ เครื่องหมาย -
n คือ ตัวอักษรที่แสดงชื่อไดร์ฟ h คื่อ การลบตัวอักษรท้ายไป
เหลือแต่เคอร์เซอร์
ตัวอย่าง เช่น C:\>PROMPT $ SOMCHAI กด ENTER
ผลคือ         SOMCHAI
หรือ          SOMCHAI PROMPT $P$G กด ENTER
ผลคือ         C:\>
การ Boot จากฮาร์ดดิสก์ มีขั้นตอนดังนี้
    • เปิดเครื่องโดยไม่ต้องใส่แผ่นดิสก์ใน Drive A
    • DOS จะถูก Boot จาก Drive C: แทน ภายหลัง Boot จาก Drive C เสร็จแล้ว จะปรากฏสัญลักษณ์ C:\>
ภาพแสดงตัวอย่างการบูตจากฮาร์ดดิสก์
หลังจากที่มีการ Boot DOS เสร็จแล้ว เราสามารถใช้คำสั่งโปรแกรมจัดระบบงาน DOS ทำงานได้ทันที แต่ผู้ใช้ควรต้องรู้จักปรับปรุงคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งรวมทั้งพิมพ์รูปแบบคำสั่งให้ถูกต้อง เพราะถ้าพิมพ์คำสั่งไม่ถูกต้อง เครื่องจะไม่รู้จัก และจะปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ และจะปรากฏข้อความว่า
" BAD COMMAND OR FILE NAME "ถ้าเครื่องปรากฏข้อความดังกล่าวให้ผู้ใช้ปฏิบัติดังนี้ คือ
    1. สำรวจดูว่าคำสั่งดังกล่าวพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ หรือ
    2. รูปแบบคำสั่งที่ใช้ถูกต้องหรือไม่
เมื่อผู้ใช้ทำการสำรวจข้อผิดพลาดดังกล่าวแล้ว ให้แก้ไขให้ถูกต้อง เครื่องก็จะปรากฏเครื่องหมาย A:\> หรือ C:\
การออกไปยัง MS-DOS Prompt ใน Windows95

  1. เริ่มที่เมนู Start
  2. ลือกที่ Programs
  3. เลือกที่ MS-DOS Prompt ดังรูปต่อไปนี้
แสดงการเลือกเมนู เริ่ม start และคลิกเลือก MS-DOS Prompt
 
แสดงหน้าจอของ MS-DOS Prompt ของ Windows98
MS-DOS จะประกอบด้วยไฟล์ต่าง ๆ จำนวนมากที่ทำงานประสานกัน เราจัดประเภทไฟล์ใน MS-DOS ออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. ประเภทไฟล์โปรแกรม
    2. ประเภทไฟล์ข้อความ
ตัวอย่างไฟล์มีหลายกลุ่มดังนี้
    • ไฟล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาเบสิก ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายหรือนามสกุลด้วย .
    • ไฟล์คำสั่ง ชื่อไฟล์จะมีส่วนขยายลงท้ายด้วย .COM, EXE, SYS เช่น FORMAT.COM, HIMEM.SYS,CHKDSK.EXE เป็นต้น

ซอฟต์แวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซอฟต์แวร์ (อังกฤษsoftware) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

เนื้อหา

  [ซ่อน

ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู

ประเภทของซอฟต์แวร์

หน้าจอของโปรแกรมประยุกต์ เว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์
การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
  1. การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
  2. การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
    • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
  3. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
    • ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
    • ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ กับ ไลบรารี

ซอฟต์แวร์แตกต่างกับไลบรารี คือซอฟต์แวร์สามารถนำมาประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ไลบรารีเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์และไม่สามารถนำมาใช้ประมวผลด้วยตนเองได้

อ้างอิง

  1. ^ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน (มักเข้าใจผิดกันว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำว่า ละมุนภัณฑ์ ซึ่งไม่ถูกต้อง)

ดูเพิ่ม

Nuvola apps password.pngบทความ ซอฟต์แวร์ อาจรู้จักในชื่อ ซอฟท์แวร์